วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ใบงานที่ื3 1.การติดตั้งwindows XP,7 2.คำสั่ง DOS

สิ่งที่ต้องเตรียม
1. แผ่น windows 7 ตาม Edition ของท่าน
2. คอมพิวเตอร์ PC / Notebook
3. USB ถ้าหากต้องการ Load driver บางตัวสำหรับ Harddisk
วิธีการลงดังนี้ครับ
1. ใส่แผ่น Windows7 ลงใน CD-Rom จากนั้นทำการ Boot Computer
เมื่อเห็นข้อความดังกล่าวดังรูป ให้กด Enter 1ครั้งเพื่อเป็นการเข้าสู้หน้าต่างของการลง Windows7
** ในการปรับให้ให้ Bios นั้น Boots จากแผ่้นเป็นอันดับแรก
-โดยส่วนมาก PC จะกด del / . เข้าไปทำการเซ็ตค่า
- Notebook ส่วนมากจะกด F2 หรือให้สังเกตุดีๆตอนที่คอมพิวเตอร์Boot มันจะบอกอยู่
-แต่ถ้าเราต้องการกดใช้ Boot menu เลย ทั้ง Notebook / pc ส่วนมากจะกด F12 , F10 ครับ
13

2. ให้เราทำการเลือกดังภาพ
Language to install : English
Time : Thai(Thailand)
Keyboard : US ให้เลือกเป็น US ก่อน
Windows7_1

3. จากนั้นให้ทำการกด Install now
Windows7_2

4. ให้เราเลือก OS ที่เราต้องการลง โดยจะ มีทั้ง x86(32bit) , x64(64bit) 
แนะนำว่าผู้ใช้ทั่วไปควรลง x86 และกด Next
Windows7_3

5. ยอมรับเงื่อนไข Lincene ของ windows 7
- ให้เราทำการ ติ๊ก(√) I accept the license > Next
Windows7_4

6. เมื่อผู้อ่านลง Windows 7 ใหม่หรือลงครั้งแรกจากการซื้อคอมพิวเตอร์ ก็ให้เลือก
Custom(advanced)
Windows7_5

7. ขั้นตอนนี้เราเราเลือก Drive ที่จะลง OS Windows7 ส่วนมาก จะลงใน Disk 0 นะครับ
ก็คือ Drive C: ของ windows เรานั้นเอง อย่าลง ผิด Drive นะครับดูดีดี
Windows7_6
************
สำคัญ แต่สำหรับคนที่เคยลง windows 7 แล้ว หรือลง windows 
ตัวอื่นแล้วจะมาลง Windows 7 ใหม่ให้ทำขั้นตอนนี้ด้วยนะครับ
ให้ไปที่ Drive options (advanced)
windows7_15
จาก นั้นให้เราเลือก Drive ที่เราเคยลง OS มาก่อน จากนั้นก็เลือก format ก่อนครับ 
จากนั้นก็เลือก Drive ที่เราจะลง OS จากนั้นก็กด Next

windows7_16



8. ขั้นตอนนี้ให้เรารอเวลาใน Install windows 7
Windows7_7

9. หลังจากนั้นให้เราใส่ชื่อ ผู้ใช้ อาทิเช่น ITITHAI จากนั้นก็กด Next
Windows7_8

10. Windows จะให้เราใส่ Password ในการ Login 
แต่ถ้าเราไม่ต้องการใส่ก็ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปเลยครับ
Windows7_9

11. ขั้นตอนนี้ให้เราใส่ Product key ซึ่ง Product key จะอยู่ที่กล่อง 
ที่เราทำการซื้อ Windows 7 มาครับ
Windows7_10

12. ขั้นตอนนี้ให้เราเลือก Use recommended Setting เพื่อเป็นการ  
Update Patch windows ต่างๆ
Windows7_11

13. ให้เราเลือกเวลา Time Zone : UTC+07.00 Bangkok,Hanoi,Jakarta
windows7_12

14. ในหัวข้อนี้ถ้าเรายังไม่แน่ใจ ให้เราเลือก Public network (ตามที่Microsoft แนะนำ)
Windows7_14

15. จากนั้นเราก็จะได้ Window7 ที่หน้าตาที่สวยงาม ดังภาพ ครับ โชคดีในการลงนะครับ

windows7-13

16. ก็เป็นเสร็จสิ้นในการลง Windows 7 แล้ว เป็นไงละครับ ง่ายไหมครับ กับการลง Windows 




การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยปกติ จะสามารถทำได้ 2 แบบคือ การติดตั้งโดยการอัพเกรดจาก
Windows ตัวเดิม หรือทำการติดตั้งใหม่เลยทั้งหมด สำหรับตัวอย่างในที่นี้ จะขอแนะนำวิธีการ ขั้นตอนการติดตั้ง
Windows XP แบบลงใหม่ทั้งหมด ซึ่งความเห็นส่วนตัว น่าจะมีปัญหาในการใช้งานน้อยกว่าแบบอัพเกรดค่ะ
วิธีการติดตั้ง Windows XP ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย
2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows XP Setup และทำการติดตั้ง
3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ก่อนทำการติดตั้ง


<><>
<><>
ในการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ แนะนำให้ทำการวางแผนประมาณขนาดพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย 
โดยทั่วไปก็ไม่ควรจะใช้พื้นที่ต่ำกว่า 3Gและเนื่องจากระบบ Windows XP สามารถที่จะสร้างเมนู Multi Boot 
ได้หลังจากที่ติดตั้งไปแล้ว โดยยังสามารถเลือกเมนูว่า
จะเรียก Windows ตัวเดิมหรือจะเรียก Windows XP ก็ได้ ดังนั้น หลาย ๆ ท่านมักจะแบ่งพื้นที่ไว้ลง  
Windows 98 ที่ Drive C: ประมาณ 5G. และเผื่อไว้สำหรับ Windows XP ที่ Drive D: อีกประมาณ 5G. 
ที่เหลือก็จะเป็น Drive E:สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ ทั่วไป แต่ถ้าหากลง Windows เพียงแค่ตัวเดียว ก็ไม่จำเป็นค่ะ
การตั้งค่าใน BIOS ก่อนทำการติดตั้ง Windows XP ใหม่จะต้องทำการ Disable Virus Protection ใน BIOS 
ซะก่อน เพราะว่าเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการป้องกัน Virus โดยการป้องกันการเขียนทับในส่วนของ Boot Area
ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกตั้งค่านี้อยู่แล้ว 
ถ้าหากเครื่องของใครไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเมนบอร์ด บางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ วิธีการก็คือ
         เริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ขณะที่เครื่องกำลังทำ Memory Test หรือนับ RAM อยู่นั่นแหละ 
ด้านล่างซ้ายมือจะมีคำว่า Press DEL to enter SETUP ให้กดปุ่ม DEL บน Keyboard เพื่อเข้าสู่เมนูของ
Bios Setup(แล้วแต่เมนบอร์ด ด้วยบางทีอาจจะใช้ปุ่มอื่น ๆ สำหรับการเข้า Bios Setup ก็ได้ลองดูให้ดี ๆ) 
จากนี้ก็แล้วแต่ว่าเครื่องของใคร จะขึ้นเมนูอย่างไร คงจะไม่เหมือนกันแต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จากนั้นให้มองหาเมนู 
Bios Features Setup ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่สอง 
ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลงมาแล้วกด ENTER ถ้าใช่จะมีเมนูของ Virus Warning หรือ Virus Protection อะไรทำนองนี้ 
ถ้าหากเป็น Enable 
อยู่ละก็ให้เปลี่ยนเป็น Disable โดยเลื่อนแถบแสงไปที่เมนูที่เราต้องการใช้ปุ่ม PageUp หรือ PageDown 
สำหรับเปลี่ยนค่าให้เป็น Disable
กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลักของ Bios Setup มองหาเมนูของ SAVE TO CMOS AND EXIT
หรืออะไรทำนองนี้เลื่อนแถบแสงไปเลยแล้วกด 
ENTER ถ้าหากเครื่องถามว่าจะ Save หรือไม่ก็ตอบ Y ได้เลย หลังจากนี้เครื่องจะทำการ Reboot ใหม่อีกครั้ง ใส่แผ่น 
Startup Diskที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย
มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันเลยค่ะ เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก 
CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน 
bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ 
(ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)
 
ทำการปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup 
โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีคะ ก็เคาะ Enter ไปทีนึงก่อน
 
โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและเช็คข้อมูลอยู่พักนึง รอจนขึ้นหน้าจอถัดไปค่ะ
 
เข้ามาสู่หน้า Welcome to Setup กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
         
หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
 
ทำการเลือก Drive ของฮาร์ดดิสก์ที่จะลง Windows XP แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
 
เลือกชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน แต่ถ้าจะใช้เป็น
FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้ายได้เลย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก FAT32 นะคะ แล้วกดปุ่ม 
Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง รอสักครู่ค่ะ
 
หลังจากนั้น โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง (ให้ใส่แผ่นซีดีไว้ในเครื่องแบบนั้น 
แต่ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อบูตเครื่องใหม่ ปล่อยให้โปรแกรมทำงานไปเองได้เลยค่ะ)
 
หลังจากบูตเครื่องมาคราวนี้ จะเริ่มเห็นหน้าตาของ Windows XP แล้วค่ะ รอสักครู่
โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ก็รอไปเรื่อย ๆ ค่ะ
จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next ไปเลยค่ะ ยังไม่ต้องตั้งค่าอะไรในช่วงนี้
ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งาน ใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
ทำการใส่ Product Key (จะมีในด้านหลังของแผ่นซีดี) แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
รอสักพัก จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP ครับ 
จากนั้น จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ
บูตเครื่องใหม่คราวนี้ อาจจะมีเมนูแปลก ๆ แบบนี้ เป็นการเลือกว่า เราจะบูตจากระบบ Windows ตัวเก่าหรือจาก 
Windows XP ครับ ก็เลือกที่ Microsoft Windows XP Professional ครับ ถ้าของใครไม่มีเมนูนี้ก็ไม่เป็นไรนะคะ
เริ่มต้นบูตเครื่อง เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP แล้วค่ะ
ในครั้งแรก อาจจะมีการถามเรื่องของขนาดหน้าจอที่ใช้งาน กด OK เพื่อให้ระบบตั้งขนาดหน้าจอให้เราได้เลยค่ะ นอกจากนี้ 
ถ้าหากเครื่องไหนมีการถาม การติดตั้งค่าต่าง ๆ ก็กดเลือกที่ Next หรือ Later ไปก่อน บางครั้งอาจจะมีให้เราทำการสร้าง Username 
อย่างน้อย 1 ฃื่อก่อนเข้าใช้งาน ก็ใส่ชื่อของคุณเข้าไปได้เลย



                                                           ชนิดคำสั่ง DOS
คำสั่งของ DOS มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เป็นคำสั่งที่เรียกใช้ได้ทันทีตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งานอยู่ เพราะคำสั่งประเภทนี้ถูกบรรจุลงในหน่วยความจำหลัก (ROM) ตลอดเวลา หลังจากที่ Boot DOS ส่วนมากจะเป็นคำสั่งที่ใช้อยู่เสมอ เช่น CLS, DIR, COPY, REN เป็นต้น คำสั่งนี้จะถูกเก็บไว้ในดิสก์หรือแผ่น DOS คำสั่งเหล่านี้จะไม่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ เมื่อต้องการใช้คำสั่งเหล่านี้คอมพิวเตอร์จะเรียกคำสั่งเข้าสู๋หน่วยความจำ ถ้าแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไม่มีคำสั่งที่ต้องการใช้อยู่ก็ไม่สามารถเรียกคำสั่งนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FORMAT, DISKCOPY, TREE, DELTREE เป็นต้น
2. คำสั่งภายนอก (External Command)
 
รูปแบบและการใช้คำสั่งต่าง ๆ
ในการใช้คำสั่งต่าง ๆ ของ DOS จะมีการกำหนดอักษรหรือสัญลักษณ์ ใช้แทนข้อความของรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
[d:]หมายถึงDrive เช่น A:, B:
[path]หมายถึงชื่อไดเรคเตอรี่ย่อย
[filename]หมายถึงชื่อแฟ้มข้อมูล หรือ ชื่อไฟล์
[.ext]หมายถึงส่วนขยาย หรือนามสกุล
หมายเหตุ ข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ([ ] ) ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ในคำสั่ง
1. Drive [d :] ที่เราใช้งาน ได้แก่ A: B: C: หรือ D:
 
2. ชื่อไดเรคตอรี่ย่อย [path]
3. ชื่อไฟล์ [filename] ต้องเป็นภาษาอังกฤษหรือเลขอารบิค มีไม่เกิน 8 ตัวอักษร ห้ามเว้นวรรค ห้ามใช้เครื่องหมายอื่นใด ( ปัจจุบันเครื่องที่เป็น Windows95/98 สามารถตั้งชื่อไฟล์ได้ 255 ตัวอักษร และสามารถตั้งเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ ) 4. ส่วนขยายหรือนามสกุล [.ext] ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
  ขณะนั้น CLS (CLEAR SCREEN)
รูปแบบ : DATE
รูปแบบ : CLS
รูปแบบและการใช้คำสั่งภายใน (Internal Command)
    1. คำสั่งลบข้อมูลบนจอภาพ
    2. คำสั่ง แก้ไข วัน เดือน ปี
DATE
    • เมื่อขึ้น C: ให้พิมพ์ DATE กด Enter
    • พบข้อความว่า Current date is jan 03-19-2001
    • ป้อนให้ถูกต้องตรงตามวันที่ปัจจุบัน
    3.    คำสั่งแก้ไขเวลา รูปแบบ : TIME
TIME
    • กรณีเดียวกันกับ วัน เดือน ปี
    • พบข้อความว่า Current time is 11:10:20
    • ป้อนให้ถูกต้องตรงตามเวลาปัจจุบัน
    4.   คำสั่ง ดูรุ่น หมายเลข ( Version ) ของดอส รูปแบบ : Ver
 
                     VER (VERSION)
    5.    การเปลี่ยน Drive
        -     จาก A:\ เป็น C:\ ให้พิมพ์ C: กด Enter
        -     จะขึ้น C:\
    6.    คำสั่ง ดูชื่อแฟ้มข้อมูล, เนื้อที่บนแผ่นดิสก์, ชื่อแผ่นดิกส์ รูปแบบ : DIR [d:] [path] [filename [.ext]] [/p] [/w]
            DIR (DIRECTORY)
            /p
    7.    คำสั่ง COPY
            ใช้คัดลอกแฟ้มข้อมูลหนึ่ง หรือหลายแฟ้มข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลต้นทาง ไปยังแฟ้มข้อมูลปลายทางอาจจะเป็นจากแผ่นดิสก์แผ่นหนึ่งหรือแผ่นดิสก์เดิมก็ได้ เช่น
            A:> COPY DATA.DAT C: BAT.DAT                หมายถึง การสั่งให้นำสำเนาแฟ้มต้นฉบับจาก ดิสเกต Drive A: ที่มีชื่อแฟ้มว่า DATA.DAT มาทำสำเนาให้ปรากฏใน Drive B: ที่มีชื่อแฟ้มว่า BAT.DAT
    8.    การใช้เครื่องหมาย ? และ * ในชื่อไฟล์ ใช้แทนตัวอักษรอะไรก็ได้ 1 ตัวอักษร ในตำแหน่งที่อยู่ใน
                W?? M     หมายถึง ชื่อไฟล์ที่มี W ขึ้นหน้า ตามด้วยตัวอักษรอะไรก็ได้ 2 ตัว และตามด้วย M
               เครื่องหมาย * ใช้แทนตัวอักษรอะไรก็ได้ ยาวเท่าใดก็ได้ เช่น *.* ชื่อไฟล์อะไรก็ได้ นามสกุลอะไรก็ได้ เช่น
            DIR S* หมายถึง แสดงชื่อไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร S หรือ
            DIR ?O* หมายถึง แสดงชื่อไฟล์ ที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรอะไรก็ได้ตามด้วย O แล้วต่อท้ายด้วยอักษรอะไรก็ได้
            A:\ COPY*.* B: หมายถึง ให้ทำสำเนาแฟ้มไปสู่ Drive B:
               A:\COPY C*.* B: หมายถึง ให้ทำสำเนาจากแฟ้มต้นฉบับ ใน Drive A: โดยเลือกเฉพาะแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นว่า C ทุกไฟล์ เช่น CAT.DAT, CAR.DOC เป็นต้น
            ?
    9.    คำสั่ง DEL หรือ Erase
หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลทีละ1หน้าจอภาพถ้าต้องการดูหน้าต่อไปให้กดแป้นใด ๆ             /w หมายถึง แสดงชื่อแฟ้มข้อมูลตามความกว้างของจอภาพ
คือ การลบแฟ้มข้อมูล รูปแบบ: DEL
ตัวอย่าง เช่น
C:\DEL A:\DATA.DOCกด Enter หมายความว่า ต้องการลบไฟล์ที่มีชื่อว่า DATA จากDrive A: มีผลทำให้ไฟล์ดังกล่าวหายไปจากแผ่นดิสก์
10. คำสั่ง RENAME
                                         คือ การเปลี่ยนชื่อไฟล์ รูปแบบ: REN [d:] [path] [oldfilename[.ext]] [newfilename[.ext]] ตัวอย่างเช่น
                              
REN A: DATA MEETING.DOC SILVER.DOC
         
                            หมายถึง เปลี่ยนชื่อจาก Drive A: แฟ้ม DATA ชื่อไฟล์ MEETING.DOC เป็น SILVER.DOC แทน
  การจัดการ Directory เป็นการจัดการไฟล์ข้อมูล แนวคิดต้นไม้ มีดังนี้ MD ( MKDIR) คือการสร้างกิ่งต้นไม้ ตัวอย่างเช่น
                                    - คำสั่ง
    A:\MD Sheet คือ การสร้าง Directory ชื่อ Sheet ไว้ที่ Drive A เมื่อใช้คำสั่ง DIR ดูจะเห็น Directory ดังกล่าว
                - คำสั่ง CD (CHDIR) คือ การเปลี่ยนตำแหน่งของกิ่งต้นไม้ หรือ Directory ที่เราต้องการเข้าไป เช่น

 
                - คำสั่ง RD
                       A:\RD DATA คือ การลบ Directory ที่เราได้สร้างไว้ ใน Drive A: หากมี Directory ดังกล่าวจะขึ้นข้อความว่า
(RMDIR) คือ การลบกิ่งต้นไม้ หรือ ไฟล์ข้อมูล ตัวอย่างเช่น
Invalid path,not directory,
  1. หากเราจะลบ Directory นั้นก็จะต้องลบไฟล์ข้อมูลในนั้นก่อน โดยใช้คำสั่ง DIR เพื่อดูว่ามีไฟล์อะไรบ้าง เช่น

    TEST.DOC
    ALL FILES.HTMA:\DATA>DIR กด ENTER ซึ่งจะแสดงข้อมูลทั้งหมดใน Directory ที่ชื่อ DATA ออกมา เช่น เรามีแฟ้มข้อมูลใน Directory ชื่อ DATA 2 แฟ้ม คือA:\CD DATA กด ENTER
  2. สามารถใช้คำสั่งลบ แฟ้มได้ดังนี้
    All files in directory will be deleted!
    Are you sure (Y/N)?A:\>DATA>DEL*.* กด ENTER ซึ่งจะได้ข้อความดังนี้
  3. ตอบ N คือ ไม่ต้องการลบไฟล์ ตอบ Y คือ ต้องการลบไฟล์ทั้งหมดใน Directory นี้ ในที่นี้เราต้องการลบ ตอบ Y กด ENTERเมื่อ ใช้คำสั่ง DIR จะไม่พบแฟ้มข้อมูลทั้งสองแล้ว
  4. จากนั้นใช้คำสั่ง CD\ ซึ่งเป็นคำสั่งเปลี่ยน Directory ออกมาที่ Root Directory
    A:\>A:\>DATA>CD\
  5. แล้วจึงสามารถลบ Directory DATA ได้ โดยใช้คำสั่ง RD A:\>RD DATAผลคือ Directory DATA ถูกลบออกไปจากแผ่นดิสก์ เมื่อใช้คำสั่ง DIR จะไม่สามารถมองเห็น
  6. คำสั่ง เข้าสู่ Root Directory ใช้คำสั่ง CD\ เช่น
    C:\C:\Windows\temp>CD\ กด ENTER ผลคือ
  7. คำสั่งออกจาก Directory ย่อย ใช้คำสั่ง CD.. เช่น


          C:\Windows> ถ้าพิมพ์ CD.. อีกครั้ง
          C:\Windows>CD.. กด ENTER ผลคือ
          C:\>
คำสั่งภายนอกมี 2 นามสกุล
1.นามสกุลเป็น .COM เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่ถูกแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
2.นามสกุลเป็น .EXE เป็น file ที่บรรจุข้อมูลที่เขียนโดยใช้ภาษาระดับสูงและแปลงเป็นภาษาเครื่องแล้ว
    1. คำสั่ง Format
    2. คือ การเตรียมแผ่นดิสก์ที่ซื้อมาใหม่ก่อนการใช้งาน เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลหรือเก็บโปรแกรมได้ โดยจะมีโปรแกรมที่ชื่อว่า Format.com         ซึ่งจะใช้ในการสร้าง Track และ Sector บนแผ่นดิสก์ เพื่อที่จะได้นำแฟ้มมาบันทึกบนแผ่นดิสก์ได้
                    Format การ Format แผ่นใหม่ มีดังนี้
    1. C:\Format A:\
    2. C:\>Format A:/S
    3. สำหรับแผ่น 3.5 นิ้ว ชนิด HD สำหรับแผ่น 3.5 ชนิด HD ให้เป็น DOS โดยการคัดลอกไฟล์ระบบเข้าไปยังแผ่น A ทำให้แผ่นดิสก์ สามารถ Boot ได้นั่นเอง
            2. คำสั่ง DISKCOPY คือ คำสั่งที่ใช้ในการทำสำเนาแฟ้มทั้งแผ่นไปสู่ดิสเกตอีกแผ่นที่ต้องการ โดยต้องเป็นแผ่นดิสก์ ชนิดเดียวกัน ขนาดเดียวกัน ทำได้ดังนี้
    1. ถ้าเครื่องไม่มีฮาร์ดดิสก์ ให้ใส่แผ่น DOS ที่มีไฟล์ DISKCOPY.COM ใน Drive A:
    2. ให้พิมพ์คำสั่ง C:\DISKCOPY A: กด Enter เครื่องจะบอกให้ใส่แผ่นต้นฉบับ
    3. ใส่แผ่นต้นฉบับใน Drive A: กด Enter รอสักครู่เครื่องจะบอกให้เรานำแผ่นต้นฉบับออก
    4. ให้ใส่แผ่นสำเนาลงไป กด Enter
    5. เครื่องจะถามการตั้งชื่อให้ กด Enter
    6. เครื่องจะถามว่าจะ DISKCOPY ต่อไปหรือไม่
    7. ตอบ Y คือ ตกลง ตอบ N คือ ไม่ตกลง
  • ใส่แผ่นดิสก์ไปใน Drive ให้ดูว่าแผ่นขนาดใด ชนิดใด
  • ให้พิมพ์สูตรตามชนิดของแผ่น แล้ว กด Enter
  • คำสั่งภายนอก เป็นคำสั่งที่ไม่อยู่ในเครื่อง เวลาใช้ต้องเรียกจากแผ่น DOS ตัวอย่างคำสั่ง   คำสั่งภายนอก(EXTERNAL COMMAND)          C:\Windows\temp>CD.. กด ENTER ผลคือ
    Or directory not empty
    ตัวอย่างการลบ Directory
                                               A:\CD INFORMATION คือ การเข้าไปใน Directory ที่มีชื่อว่า INFORMATION

    วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

    ใบงานที่2ประวัติคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์ (อังกฤษ: computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์[2][3] เป็นเครื่องจักรแบบ สั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือ คณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
    คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูป แบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทาง ตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
    หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
    คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน[4]
    คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

    ประวัติของการคำนวณโดยใช้คอมพิวเตอร์

    มีการบันทึกไว้ว่า ครั้งแรกที่มีการใช้คำว่า "คอมพิวเตอร์" คือเมื่อ ค.ศ. 1613 ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ทำหน้าที่คาดการณ์ หรือคิดคำนวณ และมีความหมายเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มา ความหมายของคำว่าคอมพิวเตอร์นี้เริ่มมีใช้กับเครื่องจักรที่ทำหน้าที่คิด คำนวณมากขึ้น[5]

    คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีฟังก์ชันจำกัด

    ประวัติของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่นั้นเริ่มต้นจากเทคโนโลยีสองชนิดที่แตก ต่างกัน ได้แก่ การคำนวณโดยอัตโนมัติ กับการคำนวณที่สามารถโปรแกรมได้ (หมายถึงสร้างวิธีการทำงานและปรับแต่งได้) แต่ระบุแน่ชัดไม่ได้ว่าเทคโนโลยีชนิดใดเกิดขึ้นก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคำนวณแต่ละชนิดนั้นไม่มีความสอดคล้องกัน อุปกรณ์บางชนิดก็มีความสำคัญที่จะเอ่ยถึง อย่างเช่นเครื่องมือเชิงกลเพื่อการคำนวณบางชนิดที่ประสบความสำเร็จและยังใช้ กันอยู่หลายศตวรรษก่อนที่จะมีเครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ อาทิลูกคิดของชาวสุเมเรียนที่ถูกออกแบบขึ้นราว 2,500 ปีก่อนคริสตกาล[6] ชนะการแข่งขันความเร็วในการคำนวณต่อเครื่องคำนวณตั้งโต๊ะเมื่อ ค.ศ. 1946 ที่ประเทศญี่ปุ่น[7] ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1620 มีการประดิษฐ์สไลด์รูล ซึ่งถูกนำขึ้นยานอวกาศในภารกิจของโครงการอะพอลโลถึง 5 ครั้ง รวมถึงเมื่อครั้งที่สำรวจดวงจันทร์ด้วย[8] นอกจากนี้ยังมี เครื่องทำนายตำแหน่งดาวฤกษ์ (Astrolabe) และ กลไกอันติคือเธรา ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณ (คอมพิวเตอร์) เกี่ยวกับดาราศาสตร์ยุคโบราณที่ชาวกรีกเป็นผู้สร้างขึ้นราว 80 ปีก่อนคริสตกาล[9] ที่มาของระบบการสั่งการโปรแกรมเกิดขึ้นเมื่อ ฮีโรแห่งอเล็กซานเดรีย (c.10-70 AD) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกสร้างโรงละครที่ประกอบด้วยเครื่องจักร ใช้แสดงละครความยาว 10 นาที และทำงานโดยมีกลไกเชือกและอิฐบล็อกทรงกระบอกที่ซับซ้อน ซึ่งสามารถตัดสินใจเลือกได้ว่าจะชิ้นส่วนกลไกใดใช้ในการแสดงฉากใดและเมื่อใด[10]
    ราวๆ ปลายศตวรรษที่ 10 สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 2 นักบวชชาวฝรั่งเศส ได้นำลิ้นชักบรรจุอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่จะตอบคำถามได้ว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ เมื่อถูกถามคำถาม (ด้วยเลขฐานสอง)[11] ซึ่งชาวมัวร์ประดิษฐ์ไว้กลับมาจากประเทศสเปน ในศตวรรษที่ 13 นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส และโรเจอร์ เบคอน นักปราชญ์ชาวอังกฤษ ได้สร้างหุ่นยนต์แอนดรอยด์ (android) พูดได้ โดยไม่ได้พัฒนาใดๆ ต่ออีก (นักบุญอัลแบร์ตุส มาญุส บ่นออกมาว่าเขาเสียเวลาเปล่าไป 40 ปีในชีวิต เมื่อนักบุญโทมัส อควีนาสตกใจกับเครื่องนี้และได้ทำลายมันเสีย) [12]
    ในปี ค.ศ. 1642 แห่งยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา มีการประดิษฐ์เครื่องคำนวณของปาสคาลซึ่งเป็นเครื่องคำนวณตัวเลขเชิงกล[13] เป็นอุปกรณ์ที่จะสามารถคำนวณโดยใช้ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยไม่ต้องพึ่งสติปัญญามนุษย์[14] เครื่องคำนวณเชิงกลนี้ยังถือเป็นรากฐานของการพัฒนาคอมพิวเตอร์ในสองทาง แรกเริ่มนั้น ความพยายามที่จะพัฒนาเครื่องคำนวณที่มีสมรรถภาพสูงและยืดหยุ่น[15] ซึ่งทฤษฎีนี้ถูกสร้างโดยชาร์ลส แบบเบจ[16][17] และได้รับการพัฒนาในเวลาต่อมา[18] นำไปสู่การพัฒนาเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1960 และในขณะเดียวกัน อินเทล ก็สามารถประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และเป็นหัวใจสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์หากไม่คำนึงถึงขนาดและวัตถุประสงค์[19] ขึ้นได้โดยบังเอิญ[20] ระหว่างการพัฒนาเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ บิซิคอม ที่พัฒนาสืบต่อจากเครื่องคำนวณเชิงกลโดยตรง

    ประเภทของคอมพิวเตอร์

    ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

    ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)

    ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่าง รวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่า นั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้ พร้อม ๆ กัน

    เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)

    เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

    มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)

    มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรม คอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

    ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)

    ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วย ทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจาก ทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

    โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop)

    โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ

    เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop)

    เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา

    แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer)

    แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุน หรือแบบสไลด์ก็ตาม [21]

    ตัวอย่างประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

    คอมพิวเตอร์มีประโยชน์กับเรามากมาย เช่น
    1. การใช้งานภาครัฐ งานทะเบียนราษฎร์ของรัฐบาล เช่น การแจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ การทำบัตรประจำตัวประชาชน งานภาษี เช่น ยื่นแบบประเมินภาษีภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต เก็บทะเบียนประวัติผู้เสียภาษี ตรวจสอบการเสียภาษี
    2. งานสายการบิน การสำรองที่นั่งผู้โดยสาร การลดงานเอกสาร
    3. ทางด้านการศึกษา สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเรียนออนไลน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
    4. ธุรกิจการนำเข้าสินค้าและส่งออก การทำธุรกิจแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
    5. ธุรกิจธนาคาร ช่วยด้านงานข้อมูลธนาคาร รับ-จ่ายเงิน เก็บประวัติลูกค้า ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือ
    6. วิทยาศาสตร์และการแพทย์ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการรักษาของคนไข้ วิจัย คำนวณ และ การจำลองแบบ
    7. งานสถาปนิก ช่วยออกแบบ เขียนแบบ หรือทำแบบจำลองสามมิติ
    8. งานภาพยนตร์ การ์ตูน แอนิเมชัน ช่วยสร้างตัวการ์ตูนเคลื่อนไหว ออกแบบตัวการ์ตูน จำลองตัวการ์ตูนสามมิติ การตัดต่อภาพยนตร์
    9. งานด้านสถิติ ช่วยเก็บบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ จำลองแบบข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูล
    10. ด้านนันทนาการ ช่วยให้ความบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ เล่นเกม

    วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

    ใบงานที่ 1(ศัพท์คอมพิวเตอร์)

      1> assembly language : ภาษาแอสเซมบลี
    เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาระดับต่ำคล้ายๆกับภาษา Basic
           และภาษา Cobol

      2> automatic teller machine : เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ
    เป็นเครื่องทีไม่มีคนประจำอยู่ ซึ่งสามารถควบคุมการถอนเงิน การดูยอดบัญชีและทำ
           งานอื่นๆ เกี่ยวกับการจ่ายเงินโดยอัตโนมัติ

      3> auxiliary storage : หน่วยเก็บช่วย หน่วยเก็บรอง
    เป็นหน่วยความจำที่ช่วยในการรองรับหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์หรือที่เรียก
           ว่า หน่วยความจำสำรอง (Secondary storage)

      4> background processing : การประมวลผลส่วนหลัง
    เป็นการ execute โดยอัตโนมัติของโปรแกรมส่วนหลังระหว่างโปรแกรมคอมฯ กับระบบ
           ปฏิบัติการ เมื่อระบบไม่สามารถทำตามคำสั่งการประมวลผลส่วนหน้าได้

      5> backup : การสำรอง
    การสำรองเอาไว้ใช้สำรองโปรแกรมหรือสำรองไว้เพื่อกันโปรแกรมเสียหาย

      6> BASIC : ภาษาเบสิก
    เป็นภาษาระดับสูงใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้และ
           การทำงานเป็นแบบแบ่งเวลา (Time Sharing)

      7> batch processing : การประมวลผลแบบกลุ่ม
    การประมวลผลของตัวเลขหรือกลุ่มของตัวเลขจะมีการประมวลผลแบบกลุ่มและการประมวลผล
           เป็นแบบเรียงลำดับ การรันโปรแกรมของคอมพิวเตอร์จะรัน 1 โปรแกรมไม่เหมือนกับที่ต้องการ
           รันโปรแกรมทีละ Operator ในโปรแกรม

      8> binary number system : ระบบเลขฐานสอง
    ในระบบเลขฐานสองจะมีอยู่ 2 digits คือ เลข 0 กับเลข 1 ซึ่งคอมพิวเตอร์จะให้แปลงคำสั่งเป็น
           เลข 0 และ 1 ในการประมวลผล และใช้เลข 0,1 เป็นเงื่อนไขหรือการกระทำ

      9> booting the system : การเริ่มทำงานของระบบ
    การเริ่มต้นทำงานของคอมพิวเตอร์ จะเริ่มจากการ Boot เครื่องและจะมีระบบปฏิบัติการหรือ DOS
           เข้ามาในหน่วยความจำหลัก

    10> buffer : ที่พักข้อมูล ที่ปรับอัตรา หรือกันชน
    ใช้พักข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ input/out กับ CPU เป็นพื้นที่สำหรับหน่วยความจำขนาดเล็ก ติดต่อ
           buffer สองตัว

    11> bug : จุดบกพร่อง
    การ error ในระบบหรือโปรแกรม การ error ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือในรายละเอียดบางชิ้น
           ของฮาร์ดแวร์

    12> bus : บัส
    การสื่อสารระหว่าง provide หรือ มากกว่า 1 devices เช่น ระหว่าง CPU, หน่วยความจำ และ
           อุปกรณ์รอบนอก โดยคอมพิวเตอร์จะต่อเข้ากับเครื่อง server

    13> byte : ไบต์
    เป็นกลุ่มของบิต จะมีอยู่ 8 operater ในหน่วยหนึ่ง โดยจะมีตัวแปรเป็นอักขระหรือสัญลัษณ์พิเศษ
           โดยปกติ 1 ไบต์จะมี 8 บิต

    14> cache memory : หน่วยความจำแบบแคช
    เป็นหน่วยความจำที่มีการทำงานสูง ความเร็วสูง เป็นการทำงานของหน่วยความจำเพื่อประมวลผล
           ข้อมูลหรือโครงสร้าง

    15> CAD/CAM : การออกแบบและผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
    โดยปกติทั่วไปจะนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบและกระบวนการผลิตของธุรกิจต่างๆ

    16> CAI : การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย
    คือการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสอน ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้เองโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ

    17> constant : ค่าคงที่
    เป็นตัวเลขที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้ในโปรแกรม

    18> control program : โปรแกรมควบคุม
    ปกติจะเป็นระบบปฏิบัติการ โปรแกรมควบคุมสามารถช่วยควบคุมการปฏิบัติการและการจัดการใน
           ระบบคอมพิวเตอร์

    19> control unit : หน่วยควบคุม
    เรียกกันว่า CPU และสามารถพบได้ในการ execution ของโครงสร้างโปรแกรม และเป็นการประมวล
           ผลส่วนกลางซึ่งจะทำงานควบคุมโดยตรงของระบบคอมพิวเตอร์

    20> coursor : ตัวชี้ตำแหน่ง
    สัญลักษณ์ที่แสดงผลบนจอภาพ คือ ขีดเส้นใต้กระพริบเพื่อแสดงหรือชี้ว่า ตัวถัดไปอยู่ตำแหน่งไหน
           อาจจะเป็นสัญลักษณ์ขีดเส้นใต้ หรือกล่องซึ่งบอกว่าคุณกำลังอยู่ตำแหน่งไหนบนจอภาพ

    21> cylinder : ทรงกระบอก
    แทร็คบนจานแม่เหล็กซึ่งเกิดจากจานแม่เหล็กแต่ละแผ่นเรียงกันเป็นทรงกระบอก และแทร็คที่เรียง
           ตรงกันเรียกว่า cylinder

    22> data : ข้อมูล
    ข้อมูลที่เตรียมไว้เพื่อจะนำไปเข้าสู่การประมวลผล

    23> data base : ฐานข้อมูล
    ที่รวมของไฟล์ที่มีความสัมพันธ์กันโดยใช้หลักการบางอย่างทำให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนกันและสามารถ
           เรียกใช้งานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

    24> data base administrator : การบริหารฐานข้อมูล
    เป็นงานที่ใช้สำหรับค้นหา ปรับปรุง แก้ไขการเข้าถึงฐานข้อมูล เป็นการเอาไว้ใช้ฐานข้อมูลโดยใช้
           ระบบฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานทั่วไป การบำรุงรักษา

    25> data base management system : ระบบการจัดการฐานข้อมูล
    เป็นโปรแกรมสำหรับจัดการฐานข้อมูล ปรับปรุงข้อมูล การค้นหาข้อมูล ระบบนี้สามารถประมวล
           ผลได้หลายโปรแกรมพร้อมกัน

    26> cathaode ray tube : หลอดภาพ
    เป็นหลอดอิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งข่าวสารไปแสดงผลลัพธ์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลลัพธ์ด้าน
           ข้อมูลบนหลอดทีวีและหน้าจอ

    27> central processing unit : หน่วยประมวลผลกลาง
    เป็นส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ในการควบคุมการแปลและการรันโปรแกรมและ
           คำสั่งต่างๆ ใน CPU ประกอบด้วยหน่วยความจำหลัก หน่วยคำนวณและตรรกะ และหน่วยควบคุม

    28> channel : ช่องสัญญาณหรือร่องข้อมูล
    เป็นเส้นทางสำหรับการส่งสัญญาณระหว่างคำสั่งและตำแหน่งของข้อมูล แบ่งเป็นแทร็คในเทป
           แม่เหล็กหรือเรียกว่า แบนด์ในดรัมแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ไปสู่ CPU
           และจาก CPU ไปสู่อุปกรณ์ต่างๆ

    29> chip : ชิป
    สร้างมาจากซิลิโคนประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และประกอบเป็น integrated

    30> compiler : ตัวแปลชุดคำสั่งหรือชุดคำสั่งแปลชุดคำสั่ง
    คำสั่งในคอมพิวเตอร์เป็นแบบภาษาเครื่อง ซึ่งโดยปกติผู้เขียนโปรแกรมจะเขียนด้วยภาษาระดับ
           สูงที่คอมพิวเตอร์ไม่รู้จัก ตัวแปลภาษาจะทำการแทนคำสั่งภาษาระดับสูงนั้นด้วยภาษาเครื่องไม่ว่าจะเป็น
           ชุดคำสั่งและคำสั่งย่อย นอกจากนี้ยังแปลงระดับการทำงานหรือปัญหาของภาษาเป็นภาษาเครื่องด้วย

    31> computer : คอมพิวเตอร์หรือคณิตกร
           เป็นเครื่องคำนวณระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยออกแบบเพื่อจัดระบบที่เป็นอัตโนมัติในการรันและ
           การทำงานมีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ โดยละเอียดเป็นลำดับขั้นตอนแปลที
           ละคำสั่งที่ได้รับไป

    32> computer network : ข่ายงาน หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    เป็นการเชื่อมต่อการประมวลผลสำหรับคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องหรือมากกว่า

    33> computer operator : การดำเนินการคอมพิวเตอร์หรือการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
    เป็นการทำงานที่รวมถึงการติดตั้งระบบและอุปกรณ์ เป็นการเริ่มดำเนินโปรแกรม ตรวจสอบ
           การทำงานของไมโครโปรเซสเซอร์และจบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ

    34> console : ส่วนเฝ้าคุมหรือจอเฝ้าคุม
    เป็นช่องทางของคอมพิวเตอร์ที่ใช้มนุษย์ควบคุมการติดต่อสื่อสารด้วยระบบคอมพิวเตอร์

    35>data communications : การสื่อสารข้อมูล
    เป็นวิธีการถ่ายข้อมูลระหว่างการประมวลผลและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยทำการโอนถ่าย
          ข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

    36> data entry operator : พนักงานป้อนข้อมูล
    เป็นผู้ที่ถอดข้อมูลจากเทปเพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นหน้าที่
           เฉพาะบางคนที่สามารถเข้าใจข้อมูลและแทนค่านั้นด้วยภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้

    37> data processing : การประมวลผลข้อมูล
    เป็นความต้องการที่จะปฏิบัติงานประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์

    38> debug : แก้จุดบกพร่อง
    เป็นการตรวจสอบที่จุดบกพร่องและแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมและหรือคำสั่งย่อยใน
           ชุดคำสั่ง

    39> decision support system : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
    เป็นการรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจไว้เป็นสำเนาเพื่อการวางแผนและการตัดสินใจ

    40> deagnosties : การวินิจฉัย
    เป็นการแสดงข้อความผิดพลาดด้วยคอมพิวเตอรืที่เกิดจากปัญหาจากระบบและคำสั่งของ
           โปรแกรม

    41> difference engine : เครื่องคำนวณทางตรรกะ
    เป็นอุปกรณ์ประมวลผลทางตรรกศาสตร์ที่จะไม่มีวันจบ สร้างโดย Charles Babbuge

    42> digital computer : คอมพิวเตอร์เชิงตัวเลข,คณิตกรเชิงตัวเลข
    เป็นอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลและจัดการคำนวณและเปรียบเทียบข้อมูล ใช้ควบคู่กับเรื่อง
           คอมพิวเตอร์แบบอนาล็อก

    43> direct-access : การเข้าถึงโดยตรง
    เป็นการเข้าถึงข้อมูลในเวลาที่ต้องการโดยดึงข้อมูลมาเฉพาะที่ตั้งที่ข้อมูลอยู่ เป็นการอ่านและ
           เขียนข้อมูลโดยตรงเช่นเดียวกับการค้นหาข้อมูลโดยตรง

    44> diskette : แผ่นบันทึก
    เป็นฟลอปปี้ดิสก์ เป็นเทปแม่เหล็กราคาถูก สำหรับอุปกรณ์ I/O และเป็นหน่วยความจำสำรอง

    45> distributed data processing : การประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย
    เป็นการบรรยายทั่วไปเกี่ยวกับการประมวลผลแบบตรรกะ เกี่ยวข้องกับข่าวสารคำสั่งตลอด
           จนการทำงานแบบรวมทั้งทางกายภาพ ประมวลผลและอุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ

    46> documnutation : การจัดทำเอกสาร
    เป็นเอกสารระหว่างการวิเคราะห์และคำสั่งย่อยของโปรแกรมและข้อมูลของโปรแกรมและระบบ
           เก็บตัวแปรและมีไว้เพื่อปรับปรุงโปรแกรามในวันต่อไป

    47> editor : บรรณาธิกรณ์หรือบรรณาธิการ
    เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ทบทวนและใส่ตัวอักษาและคำสั่งอื่นของโปรแกรม

    48> electronic mail : การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์
    เป็นการส่งข้อความทั่วไปโดยระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นการส่ง
           ข้อมูล, ข้อความ, และสารสนเทศ เป็นการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปอีกคอมพิวเตอร์หนึ่งเหมือน
           กับการทำงานของไปรษณีย์

    49> electronic apreadsheet program : โปรแกรมกระดาษทำการอิเล็กทรอนิกส์
    เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว, คำนวณและวิเคราะห์ข้อมูล มีการทำงานแบบแถวและ
           คอลัมน์

    50> EPROM : หน่วยความจำโปรแกรมลบได้
    ลบและอ่านหน่วยความจำได้เพียงอย่างเดียว โดยสามารถเขียนโปรแกรมได้ในเงื่อนไขอย่างจำกัด
           เพียงครั้งเดียว